สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8-14 พฤษภาคม 2563

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,838 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,771 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,458 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,599 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,950 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,183 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.50
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,625 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,016 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.68
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่ ) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,181 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,473 บาท/ตัน) ราคา
สูงขึ้นจากตันละ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,362 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.36 แต่ลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 889 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 498 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,881 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,327 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.60 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,446 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 484 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,435 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 518 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,652 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.56 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,217 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,774 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 536 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,231 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 457 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.8899
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ปรับลดคาดการณ์การผลิตข้าวเปลือกในปี 2563 ของเวียดนามเป็น 43.8 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 3.3 จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ สำหรับการเก็บเกี่ยวลดลงร้อยละ 0.9 เนื่องจากภัยแล้งและน้ำเค็ม
USDA เปิดเผยว่า การผลิตในปี 2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เป็น 44 ล้านตันต่อปี เนื่องจากการขยายพื้นที่เก็บเกี่ยวเป็น 7.56 ล้านเฮกตาร์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.67) แม้จะมีการปรับลดการเพาะปลูกในปี 2563 แต่การผลิตข้าวเปลือกฤดูหนาว/ฤดูใบไม้ผลิ ในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ที่ระดับ 11 ล้านตัน เนื่องจาก USDA มีการปรับเปลี่ยนปฏิทินการเพาะปลูก ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 30,000 เฮกตาร์ ในจังหวัดชายฝั่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และในปีนี้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการบุกรุกของน้ำเค็มและตะกอนที่ไม่เพียงพอในการเสริมโภชนาการของดิน เนื่องจากน้ำจืดลดลง โดย USDA กล่าวว่าปริมาณน้ำฝนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนั้นคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับการจัดหาน้ำไม่เพียงพอในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าก็ตาม การผลิตข้าวเปลือกในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในช่วงฤดูร้อน / ฤดูใบไม้ร่วง ปี 2563 คาดว่าจะมีปริมาณ 13.6 ล้านตัน ซึ่งยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
สำหรับการบริโภค USDA คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 21.4 ล้านตันต่อปี เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลต่อการบริโภคของประชากรในเมืองลดลง ส่วนราคาในประเทศเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมที่ผ่านมา ที่อยู่ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูหนาว/ฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และจีน มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการเก็บเกี่ยวล่าช้าเพราะสภาพอากาศหนาวเย็น สำหรับการส่งออกในปี 2563 คาดว่าจะอยู่ที่ 6.7 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.98) ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม ได้อุทธรณ์คำสั่งห้ามการลงทะเบียนสัญญาส่งออกใหม่ ซึ่งดำเนินการเมื่อวันที่ 24 มีนาคม โดยนายกรัฐมนตรี และคาดว่าสถานการณ์นี้จะมีผลจนถึงเดือนพฤษภาคมตามที่นายกรัฐมนตรีกล่าว และคาดว่าความต้องการข้าวเวียดนามจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากตามรายงานของ USDA ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวของทั้งกัมพูชาและไทยจะลดลง ประกอบกับราคาข้าวเวียดนามต่ำกว่าอินเดีย ที่มีการระบาดของเชื้อ COVID-19 และการระบาดของตั๊กแตนในแอฟริกาตะวันออก สำหรับสต็อกข้าวปลายปี 2563 คาดว่าจะลดลงเหลือ 677,000 ล้านตัน (ลดลงร้อยละ 25.40)
ที่มา : mekongoryza.com
 
เมียนมา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2563/64 (มกราคม 2564-ธันวาคม 2564)
เมียนมาจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 20.46 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ที่คาดว่าจะมีประมาณ 19.84 ล้านตัน เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ในขณะที่การเพาะปลูกข้าวในปัจจุบันมีการใช้ปัจจัยการผลิตมากขึ้น เช่น ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี รวมทั้งมีการนำหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีหรือ Good Agricultural Practices (GAP) มาปรับใช้ ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2563/64 พื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวจะมีประมาณ 43.75 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 43.125 ล้านไร่
ในปี 2562/63 ด้านความต้องการบริโภคข้าว ในปี 2563/64 คาดว่าจะมีประมาณ 10.2 ล้านตัน เท่ากับปีก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกคาดว่า ในปี 2563/64 จะมีประมาณ 2.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ที่คาดว่าจะส่งออกประมาณ 2.3 ล้านตัน เนื่องจากคาดว่าความต้องการข้าวจากตลาดจีนจะมีมากขึ้น เช่นเดียวกันตลาดสหภาพยุโรป และแอฟริกา รวมทั้งประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งหลังจากที่การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 คลี่คลายลง คาดว่าจะมีการนำเข้าข้าวมากขึ้น
สำหรับสถานการณ์การส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนผ่านทางแนวชายแดนทางภาคเหนือของประเทศนั้น นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 การส่งข้าวผ่านชายแดนมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากรัฐบาลจีนมีมาตรการเข้มงวดการนำเข้าสินค้าเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทั้งนี้ จากข้อมูลของทางการเมียนมานับตั้งแต่ปีการตลาด 2561/62 การส่งออกข้าวผ่านชายแดนมีปริมาณลดลงจากเมื่อก่อน หลังจากที่ทางการจีนมีนโยบายเข้มงวดการลักลอบนำเข้าสินค้าตามแนวชายแดน โดยในปี 2562 การส่งออกข้าวหักไปยังประเทศจีน (ตัวเลขไม่เป็นทางการ) มีปริมาณลดลงประมาณร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปี 2561 เนื่องจากทางการจีนมีนโยบายจำกัดใบอนุญาตนำเข้าข้าวหัก
ทางแนวชายแดน ซึ่งตรงกันข้ามกับการส่งออกข้าวหักไปยังตลาดอื่นๆ เช่น เบลเยี่ยม อินโดนีเซีย กินี เซเนกัล และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 80
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
จีน
สำนักงานส่งเสริมการค้า (สคต.) ณ นครเฉิงตู รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้าน
การเตือนภัยตลาด สำนักงานชนบท กระทรวงการเกษตรของจีน ได้จัดทำรายงานการคาดการณ์การพัฒนาด้าน การเกษตรของจีนระหว่างปี 2563-2572 โดยได้วิเคราะห์และทบทวนสถานการณ์การผลิต การบริโภค ราคา และ การค้าสินค้าเกษตรหลักของจีนในปี 2562 พร้อมคาดการณ์แนวโน้มอุปทานและอุปสงค์ของตลาดสินค้าเกษตรหลัก ของจีนในอีก 10 ปีข้างหน้าด้วย ซึ่งในส่วนของสินค้าข้าวมีรายละเอียดสรุปได้ว่า โครงสร้างการผลิตข้าวของจีนจะมี
การปรับตัวดีขึ้น โดยในปี 2566 พื้นที่เพาะปลูกข้าวจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
 จึงคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ปริมาณการผลิตข้าวจะมีเสถียรภาพอยู่ในระดับมากกว่า 200 ล้านตันต่อปี หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อปี หลังจากจำนวนประชากรจีนเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับปริมาณความต้องการข้าว
เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณความต้องการโดยรวมยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในปี 2572 ปริมาณการบริโภคข้าวของจีนจะสูงถึง 156.05 ล้านตัน ปริมาณการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศจะสูงถึง 4.45 ล้านตัน ขณะที่ปริมาณการส่งออกข้าวของจีนจะลดลงเหลือเพียง 1.5 ล้านตัน
สำหรับข้าวสาลี คาดว่าในปี 2572 ปริมาณการผลิตข้าวสาลีจะสูงถึง 135 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.13
ต่อปี หลังจากจำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้น และอุตสาหกรรมอาหารได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็คาดว่าในปี 2572 ปริมาณการบริโภคข้าวสาลีของจีนจะสูงถึง 140 ล้านตัน และปริมาณการนำเข้าข้าวสาลี จากเดิม 3.90 ล้านตัน ในปี 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็น 5.83 ล้านตันในปี 2572 ส่วนข้าวโพดนั้น ในอีก 10 ปีข้างหน้า พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด
จะเพิ่มขึ้น 23 ล้านหมู่ (หรือเท่ากับ 9.58 ล้านไร่) เมื่อเทคโนโลยีด้านการเกษตรและอุปกรณ์พื้นฐานได้มีการพัฒนาและยกระดับขึ้น และคาดว่าในปี 2572 ปริมาณการผลิตข้าวโพดของจีนจะสูงถึง 338 ล้านตัน หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ต่อปี หลังจากขนาดอุตสาหกรรมปศุสัตว์ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดมีศักยภาพสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณการบริโภคข้าวโพดของจีนเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย และปริมาณการบริโภคข้าวโพดของจีน
ในปี 2572 ก็น่าจะสูงถึง 327 ล้านตัน หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อปี ส่วนปริมาณการนำเข้าข้าวโพดของจีน คาดว่าจะอยู่ที่ 6.48 ล้านตัน ซึ่งยังคงอยู่ในขอบเขตของโควตานำเข้าข้าวโพด
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.66 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.27 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.07 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.68 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.31 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 275.50 ดอลลาร์สหรัฐ (8,791 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 270.50 ดอลลาร์สหรัฐ (8,696 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 95 บาท 
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 319.08 เซนต์ (4,061 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 317.20 เซนต์ (4,069 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 8 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.666 
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.300 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.702 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.306 ล้านตัน ของเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 2.12 และร้อยละ 1.96 ตามลำดั
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.56 บาท ลดลงจาก กก.ละ 2.72 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.88             
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.56 บาท ลดลงจาก กก.ละ 21.04 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.28        
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มลดลง ณ วันที่ 14 พ.ค. 63 ราคาลดลงตามราคาน้ำมันถั่วเหลืองที่ลดลงและราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น ราคาอ้างอิง ณ เดือนกรกฎาคม ตลาดเบอร์ซามาเลเซีย ลดลงไป 0.25 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 2,027 ริงกิตต่อตัน 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,056.85 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.49 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,026.61 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.49     
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 506.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.38 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 521.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.84  
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
            คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 เห็นชอบโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ฤดูการผลิตปี 2562/2563 ดังนี้
          1. ใช้แหล่งเงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 10,000 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ฤดูการผลิตปี 2562/2563 ทั้งนี้ การช่วยเหลือแยกหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเป็น 2 กรณี ดังนี้
          1.1 วงเงิน 6,500 ล้านบาท เป็นการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยเข้าโรงงานทุกราย ที่ได้จดทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ 2527 และได้ทำสัญญาส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลก่อนเปิดหีบอ้อย โดยกำหนดการช่วยเหลือในอัตราตันอ้อยละไม่เกิน 85 บาท รายละไม่เกิน 5,000 ตัน
          1.2 วงเงิน 3,500 ล้านบาท เป็นการช่วยเหลือตามมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) โดยช่วยเหลือเฉพาะชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเข้าโรงงานทุกตันอ้อย โดยกำหนดเงินช่วยเหลือในอัตราตันอ้อยละไม่เกิน 93 บาท
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ


 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.79 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.45
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) คาดการณ์ว่า การผลิตถั่วเหลืองของสหรัฐฯ ในปี 2563/64 ประมาณ 4.13 พันล้านบุชเชล ซึ่งผลผลิตเพิ่มขึ้น 14% เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกและการคาดการณ์ผลผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับพื้นที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 83.5 ล้านเอเคอร์ ส่วนการส่งออกมีปริมาณ 2.05 พันล้านบุชเชลเพิ่มขึ้น 375 ล้านบุชเชล สต็อกปลายปี 405 ล้านบุชเชล ซึ่งลดลง 175 ล้านบุชเชล และราคาถั่วเหลืองเฉลี่ยในฤดูกาล 8.20 ดอลลาร์สหรัฐ/บุชเชล ลดลง 30% โดยแนวโน้มถั่วเหลืองของสหรัฐจะเพิ่มขึ้นในส่วนของการผลิตความต้องการใช้สกัดน้ำมัน การส่งออก และลดลงสำหรับสต็อกปลายปี เมื่อเปรียบเทียบปี 2562/63
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 844.20 เซนต์ (10.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 838.20 เซนต์ (10.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.71
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 286.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.26 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 284.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.70
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 25.99 เซนต์ (18.52 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 25.87 เซนต์ (18.58 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.46
 

 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด




 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 25.41 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.26
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,004.00  ดอลลาร์สหรัฐ (32.02 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 996.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.02 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 909.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.99 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 902.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.00 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,035.50 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,025.50 ดอลลาร์สหรัฐ (32.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 625.25 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 620.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,502.75 ดอลลาร์สหรัฐ (47.93 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,490.50 ดอลลาร์สหรัฐ (47.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.87 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 1.55
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.49 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 0.14
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.33 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.86
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 3.67


 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 57.31 เซนต์(กิโลกรัมละ 40.84 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 54.73 เซนต์ (กิโลกรัมละ 39.32 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.71 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.52 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,719 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,785 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.70
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,400 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,467 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.57
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 888 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนอบอ้าวในหลายพื้นที่ ทำให้สุกรเจริญเติบโตช้าผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรยังคงอยู่ในระดับเดิม แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  67.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 67.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.42 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.21 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 66.69 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,000 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 1,800 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.11
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 2.96


ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมากและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคไก่เนื้อที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 30.86 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.00 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.11


ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่มีไม่มากนัก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 289 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 292  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 312 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 292 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 283 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 295บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   


ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 357 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 353 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 386 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 315 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 380 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  


โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.23 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.73 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 87.68 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.50 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท


กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.12 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 

 


ตารางปศุสัตว์ ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 8 – 14 พฤษภาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.41 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 132.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.09 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 136.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 70.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.48 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.89 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท              
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา